โครงการอบรมระยะสั้นและสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยโรคไตในต่างประเทศ (ไต้หวัน)

กิตติกรรมประกาศ


ในโอกาสนี้ กระผมขอขอบพระคุณมูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ และคุณธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ ที่สนับสนุนทุนในการเข้ารับการอบรมระยะสั้นและแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย ณ School of Pharmacy, College of Medicine, National Cheng Kung University เมืองไถนาน ไต้หวัน ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการมอบโอกาสที่ดี ให้กระผมได้ฝึกประสบการณ์ในการวิจัยด้านสุขภาพและโรคไต จากฐานข้อมูลด้านสุขภาพของไต้หวัน (Taiwan National Health Insurance Database) และข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล National Cheng Kung University Hospital พร้อมฝึกประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ อันเป็นการเพิ่มประสบการณ์และความชานาญด้านเภสัชระบาดวิทยาแก่กระผม โดยเฉพาะการวิเคราะห์เชิงระบาดวิทยาจากข้อมูลสุขภาพขนาดใหญ่ อีกทั้งเป็นการสร้างความร่วมมือเบื้องต้นในการวิจัย และการแลกเปลี่ยนนิสิตเภสัชศาสตร์ ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ School of Pharmacy, National Cheng Kung University ในอนาคต

การได้รับโอกาสในการฝึกอบรมครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ในการนาความมรู้ที่ได้มาเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ความรู้ต่อผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และนามาถ่ายทอดแก่นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ต่อไป และสามารถนาความรู้ที่ได้มาพัฒนางานวิจัยด้านเภสัชระบาดวิทยา เพื่อสร้างประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย ต่อไปในอนาคต

  ( ภก.พงศ์พันธุ์ สุริยงค์ )
อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


โครงการอบรมระยะสั้นและสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยโรคไตในต่างประเทศ (ไต้หวัน)

1. ชื่อโครงการ

โครงการอบรมระยะสั้นในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความชานาญ ด้านระบาดวิทยา เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์กับการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยสูงอายุ ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง”

2. สรุปย่อโครงการ (Project summary)

โครงการนี้เป็นการอบรมระยะสั้นและแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย ณ School of Pharmacy, College of Medicine, National Cheng Kung University เมืองไถนาน ไต้หวัน เพื่อฝึกประสบการณ์และเพิ่มความชานาญด้านระบาดวิทยา ในการวิจัยด้านสุขภาพและโรคไต โดยเน้นการศึกษาวิจัยจากฐานข้อมูลด้านสุขภาพของไต้หวัน (Taiwan national health insurance database) และข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล National Cheng Kung University Hospital พร้อมฝึกประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ และเป็นการสร้างความร่วมมือเบื้องต้นในการวิจัย และการแลกเปลี่ยนนิสิตเภสัชศาสตร์ ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ School of Pharmacy, National Cheng Kung University ในอนาคต อีกทั้งเป็นการนาความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนางานวิจัยในประเทศไทย หัวข้อ “ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์กับการเกิดโรค ไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยสูงอายุ ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง” ซึ่งเป็นการวิจัยระดับปริญญาเอก ณ คณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การอบรมครั้งนี้ ได้ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย National Cheng Kung University Hospital ซึ่งฝ่ายเภสัชกรรมได้แบ่งออกเป็น 2 แผนกใหญ่ๆ คือ แผนกบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประสานงานด้านเภสัชกรรมร่วมกับ School of Pharmacy, College of Medicine ที่แบ่งหน่วยย่อยภายในเป็น 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปริญญาโท-เอก ด้าน Clinical pharmacy และ Pharmaceutical sciences และปริญญาตรีเภสัชศาสตรบัณฑิต (Pharm. D) และได้มีหน่วยงานวิจัยภายในที่เน้นงานวิจัยด้าน Health research outcome ซึ่งผู้เข้าอบรมได้เข้าฝึกอบรมในหน่วยวิจัยดังกล่าว โดยเน้นการวิจัยด้านระบาดวิทยาจากฐานข้อมูล Taiwan national health insurance data ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสุขภาพขนาดใหญ่ (Big data) ที่รวบรวมข้อมูลการให้บริการสุขภาพแก่ประชากรทั้งหมดของไต้หวัน จากการเคลมค่ารักษาพยาบาลและค่ายาจากการให้บริการในโรงพยาบาล และร้านยาทั่วไต้หวัน และยังทำการศึกษาวิจัยจากฐานข้อมูล 2 โรงพยาบาล (Hospital electronic medical record) และโปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากหลายโรงพยาบาล โดยเน้นศึกษาเพิ่มเติมในข้อมูลด้านโรคไตของไต้หวัน พร้อมฝึกเขียน manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติด้านระบาดวิทยา สาหรับเผยแพร่งานวิจัยสู่สาธารณะ เมื่อเสร็จสิ้นงานวิจัย

3. ความเป็นมาและความสาคัญของโครงการ

ความชุกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทั่วโลก มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี และส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นประชากรในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจระดับกลาง และน้อย นอกจากนั้นมีรายงานความชุกของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2551 ในอัตราร้อยละ 17.5 และในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ 3 4 และ 5 ในอัตราร้อยละ 8.1 0.2 และ 0.15 ตามลาดับ และมีรายงานความชุกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูง เมื่อ พ.ศ. 2555 ในระยะที่ 3 ร้อยละ 33.2 และในระยะที่ 4-5 ร้อยละ 4.3 และความชุกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60 – 69 ปี อัตราร้อยละ 39.1 ช่วงอายุ 70 – 79 ปี อัตราร้อยละ 58.6 และช่วงอายุมากกว่า 80 ปี อัตราร้อยละ 72.8

ในขณะที่ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มีอัตราการใช้ค่อนข้างมากทั่วโลกประมาณ 30 ล้านคนต่อวัน โดยมีรายงานความชุกของการใช้ยาแก้ปวด NSAIDs ในประเทศไทยของผู้สูงอายุ เมื่อปี พ.ศ. 2558 ร้อยละ 35.04 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมค่อนข้างมาก โดยมีการใช้ยาแก้ปวด NSAIDs อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากติดใจถึงประสิทธิภาพของยา และฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของยา ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการทาลายไตที่เพิ่มขึ้น

อีกทั้งการวิจัยก่อนหน้านี้ไม่สามารถบ่งบอกความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการใช้ยาแก้ปวด NSAIDs กับการเกิดโรคไตวายเรื้อรังได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจเข้าฝึกอบรมระยะสั้นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลและเพิ่มเติมความชานาญกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา ณ National Cheng Kung University เมืองไถนาน ประเทศไต้หวัน เพื่อนาความรู้ที่ได้มาพัฒนางานวิจัยด้านโรคไตดังกล่าว ในประเทศไทย

4.วัตถุประสงค์ของโครงการ
ในการฝึกปฏิบัติงานวิจัยระยะสั้นด้านเภสัชระบาดวิทยาครั้งนี้ ณ School of Pharmacy, Medical college, National Cheng Kung University, Taiwan มีวัตถุประสงค์ดังนี้

1) ศึกษาการวิจัยด้านเภสัชระบาดวิทยา ที่วิเคราะห์โดยใช้ Big Data คือ National health insurance database ของ ไต้หวัน และโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์

2) ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางระบาดวิทยาขั้นสูง และฝึกเขียน Protocol สาหรับการทาวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs กับการก่อให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง ในประเทศไทย

3) ฝึกการเขียน manuscript เพื่อเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ

4) สร้างความร่วมมือเบื้องต้นในการวิจัยระหว่าง School of Pharmacy, Medical college, National Cheng Kung University, Taiwan และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

5. เนื้อหาสาระสาคัญ

การเข้าฝึกอบรมระยะสั้นและสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยโรคไตในต่างประเทศ (ไต้หวัน) ในครั้งนี้ สามารถสรุปข้อมูลและเนื้อหาโดยย่อได้ดังนี้

National Cheng Kung University Hospital

เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ที่ขึ้นตรงกับ College of Medicine, National Cheng Kung University (NCKU) ตั้งอยู่ ณ เมือง ไถนาน ทางตอนไต้ของไต้หวัน เป็นโรงพยาบาลขนาด 1,200 เตียง มีพนักงานมากกว่า 2,500 คน

Pharmacy Department, National Cheng Kung University Hospit

ฝ่ายเภสัชกรรม ของ National Cheng Kung University Hospital มี Assoc. Prof. Dr. Cheng Ching-Lan, Rebecca เป็นหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม และได้แบ่งออกเป็น งานบริการผู้ป่วยนอก และงานบริกาผู้ป่วยใน

1) งานบริการผู้ป่วยนอก

ให้บริการผู้ป่วยนอกในวันจันทร์ – ศุกร์ โดยจะจ่ายยาและให้คาแนะนาในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยนอก โดยแผนกผู้ป่วยนอกนี้ ได้มีช่องบริการพิเศษสาหรับให้บริการผู้ป่วยพิการ และผู้ป่วยที่ต้องการรับคาปรึกษาด้านยาเพิ่มเติมเป็นพิเศษ

งานบริการผู้ป่วยนอกได้มีเครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการสนับสนุนการให้บริการของฝ่ายเภสัชกรรมให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น

เครื่อง Pre-pack ยา โดยจะนับยาบรรจุซองเตรียมไว้ตามจำนวนที่ต้องการ

เครื่องผสมยา สำหรับเด็ก โดยจะนายาที่สามารถเข้ากันได้ มาบดและผสมกัน ให้อยู่ในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กนายาที่ได้ ไปรับประทานพร้อมเดียวกัน และเป็นการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาในเด็ก

2) งานบริการผู้ป่วยใน

งานบริการผู้ป่วยในจะมีเภสัชกรทำหน้าที่ทบทวนและติดตามการใช้ยาบนหอผู้ป่วย ซึ่งเป็นอาคารแยกจากอาคารผู้ป่วยนอก

โรงพยาบาลได้จัดบรรยากาศบนหอผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย และใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัยในชีวิตประจาวันให้มากที่สุด ดังรูป

บนหอผู้ป่วย ได้มีการนาเทคโนโลยี การเชื่อมต่อข้อมูลผ่าน Computer แบบไร้สายมาช่วยในการดูแลผู้ป่วย ให้มีความถูกต้อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น

ภายในอาคารของโรงพพยาบาลจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพด้วยตนเอง และรณรงค์เรื่องการสูบบุหรี่ เป็นต้น

College of Medicine, National Cheng Kung University

ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1984 ตั้งอยู่ที่ Eastern district เมืองไถนาน ไต้หวัน ปัจจุบันมีนักศึกษา ประมาณ 2,060 คน ศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี 6 หลักสูตร ปริญญาโท 17 หลักสูตร และปริญญาเอก 6 หลักสูตร

School of Pharmacy, Institute of Clinical Pharmacy & Pharmaceutical Sciences, College of Medicine, NCKU

ภาควิชาเภสัชศาสตร์ ของ National Cheng Kung University ได้แบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 3 ภาคส่วน คือ Institute of Clinical Pharmacy & Pharmaceutical Sciences, School of Pharmacy และ Health Research Outcome Center ดังนี้

Institute of Clinical Pharmacy & Pharmaceutical Sciences, College of Medicine, NCKU

ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2011 โดยเป็นการรวมตัวระหว่างหลักสูตร ปริญญาเอก ของ Institute of Biopharmaceutical Sciences และ หลักสูตรปริญญาโท ของ Institute of Clinical Pharmacy ซึ่งปัจจุบันมีผู้จบหลักสูตรแล้ว 224 คน และมี Prof.Yea-Huei Kao Yang เป็นคณบดี โดยเน้นความเชี่ยวชาญในงานวิจัยทางด้าน Clinical pharmacy ได้แก่ งานวิจัยด้าน Pharmacoepidemiology, Pharmacoeconomics และ Regulatory science และงานวิจัยด้าน Pharmaceutical sciences ได้แก่ งานวิจัยด้าน Pharmacokinetics, Pharmaceutics, Pharmacogenomics และ Pharm. chemistry ดังภาพตัวอย่าง ที่ผู้รับทุนเข้าฟังการนาเสนอดุษฎีนิพนธ์ เพื่อสอบจบระดับปริญญาเอกของนักศึกษาในหลักสูตร

School of Pharmacy, College of Medicine, NCKU

ก่อตั้งและเปิดหลักสูตรปริญญาตรี Pharm D. เมื่อ ค.ศ. 2014 ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้ง 6 ชั้นปี จานวน 148 คน

Health Research Outcome Center, NCKU

เป็นหน่วยวิจัยที่เน้นการวิจัยผลลัพธ์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเชิงระบาดวิทยา และเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางเครือข่ายงานวิจัยด้านเภสัชระบาดวิทยาในเอเชียแปซิฟิก โดยมี Prof.Dr.Yea-Huei Kao Yang เป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยและมีบุคลากรภายในศูนย์ทั้งหมด 12 คน ปัจจุบันได้ผลิตผลงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 680 เรื่อง

ผลการฝึกอบรมและวิจัย

การฝึกอบรมในหน่วยวิจัยครั้งนี้ เน้นการวิจัยด้านระบาดวิทยาจากฐานข้อมูล Taiwan national health insurance data ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสุขภาพขนาดใหญ่ (Big data) ที่รวบรวมข้อมูลการให้บริการสุขภาพแก่ประชากรทั้งหมดของไต้หวัน จากการเคลมค่ารักษาพยาบาลและค่ายาจากการให้บริการในโรงพยาบาล และร้านยาทั่วไต้หวัน และยังไม่มีการวิจัยลักษณะดังกล่าว ในประเทศไทยมาก่อน ดังนั้นจึงสรุปประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรมดังนี้

1. การศึกษาสถานการณ์ด้านโรคไต ของไต้หวัน

ไต้หวันมีความชุกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย (End-stage renal disease: ESRD) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 8.8 ต่อปี และใน ค.ศ. 2015 มีจานวน 3,317 คนต่อล้านประชากร และมีอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย ในปี ค.ศ. 2015 อยู่ที่ 476 คนต่อล้านประชากร มากเป็นอันดับ 1 ของโลก

ทั้งนี้ เนื่องจากไต้หวันได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไตวายเรื้อรังให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงทาให้มีสัดส่วนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ในส่วนของข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้นั้น ไต้หวันจะมีการบันทึกรหัสการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายมากกว่า โรคไตวายเรื้อรังระยะอื่นๆ เนื่องจากเป็นรหัสโรคที่สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลและค่ายาจากหลักประกันสุขภาพของไต้หวันได้

ที่มา : 2017 Annual Report on Kidney Disease in Taiwan

ที่มา : 2017 Annual Report on Kidney Disease in Taiwan

2. การวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยาจากฐานข้อมูลระดับชาติ (National health data)

ไต้หวันจะมีการรวบรวมข้อมูลการรักษาพยาบาลและค่ายาของประชากรทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ ของ Taiwan National Health Data Center โดยจะเป็นการรวบรวมข้อมูลชนิด Claimed data จากโรงพยาบาลและร้านยาทั่วไต้หวัน ครอบคลุม 24 ล้านประชากร ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดใหญ่มาก และมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยาที่มีความแม่นยาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโรคที่มีโอกาสเกิดได้น้อย

โดยนักวิจัยและหน่วยงานที่ต้องการทาการศึกษาจากข้อมูลดังกล่าว ต้องเขียน Protocol เพื่อนาเสนอและขออนุญาตใช้ข้อมูลดังกล่าวจากรัฐบาลไต้หวัน และเมื่อรัฐบาลอนุมัติแล้ว ผู้วิจัยจะสามารถเข้าใช้ข้อมูลได้เฉพาะที่กาหนดไว้ใน Protocol และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอเข้าใช้ข้อมูลแต่ละครั้ง

Health Research Outcome Center, NCKU ปัจจุบันได้เน้นงานวิจัยจากการศึกษาเชิงเภสัชระบาดวิทยา จากฐานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติไต้หวันหลายโครงการ และใช้โปรแกรม SAS ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว

ซึ่งปัจจุบัน SAS มีโปรแกรมที่สร้างขึ้นมา 3 รุ่น 3 แบบ คือ

1) SAS windows Environment ที่เป็นโปรแกรมรุ่นเก่า ที่มีขั้นตอนต่างๆ เป็นแบบ Manual คือ ผู้วิเคราะห์ต้องเขียนคาสั่งทุกขั้นตอนด้วยตนเอง

2) SAS Enterprise Guide หรือ SAS EG เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายขึ้น โดยจะมีชุดคาสั่ง (Query) สาเร็จรูปให้ใช้ และสามารถพิมพ์เพิ่ม หรือแก้ไขเหมือน SAS windows Environment ได้

3) SAS Studio เป็นโปรแกรม SAS ที่สามารถวิเคราะห์และเข้าใช้ผ่าน Web browser

ในการฝึกอบรมครั้งนี้ ผู้เข้าฝึกอบรมได้เรียนรู้และฝึกวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data โดยใช้โปรแกรม SAS Enterprise Guide ในการวิเคราะห์เรื่อง “การวิเคราะห์การรอดชีพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Survival analysis in stroke patients)” และได้ฝึกเขียน Protocol เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล Big Data เรื่อง การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์กับการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยสูงอายุ ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (Study of Association of Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs and New-onset of Chronic Kidney Disease in Elderly Hypertensive Patients: A Nested Case-control Study) ซึ่งพบว่า ฐานข้อมูล Taiwan national health insurance data ได้บันทึกรหัสโรคด้วย ICD-9-CM และเปลี่ยนเป็น ICD-10-TM เมื่อปี ค.ศ. 2016 ซึ่งเป็นรหัสที่แตกต่างกัน และข้อมูลดังกล่าวขาดความครบถ้วนในการบันทึกรหัสการวินิจฉัยโรคไต ที่ต้องแบ่งตามระยะต่างๆ แต่มีความครบถ้วนของการวินิจฉัยของโรคไตวายระยะท้าย และไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลค่า Laboratory ในการประเมินการทางานของไต เช่น ค่า eGFR เป็นต้น แต่ฐานข้อมูลสามารถปรับคุณภาพของข้อมูล ด้วยวิธี Cleaned data โดยการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจาก ปี ค.ศ. ที่เกิด และเพศของผู้ป่วย จากรหัสประจาตัวประชาชน

3. การศึกษาข้อมูลทางระบาดวิทยาและโรคไตจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล (Hospital electronic medical record)

จากการดูงานเรื่องการสั่งใช้ยาที่มีปัญหาต่อการทางานของไต จากฐานข้อมูล National Cheng Kung University Hospital พบว่า ในการสั่งใช้ยาของแพทย์ทุกครั้ง ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลจะมีการระบุผลการตรวจวัดค่าการทางานของไตครั้งล่าสุด คือค่า Creatinine clearance ให้แพทย์ทราบ และเมื่อมีการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่อไต จะมีระบบ Pop-up แจ้งให้แพทย์ทราบและให้เลือกกดเพื่อเชื่อมโยงให้อ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับยานั้นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ในครั้งนั้น

ปัจจุบันได้มีโปรแกรมที่ใช้สาหรับรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลหลายๆแห่งรวมกัน เพื่อนาข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา เพื่อตอบโจทย์ที่ต้องการศึกษาร่วมกัน ได้แก่ Red Cap Project Website ซึ่งหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางจะออกแบบหน้าต่างบน Webpage ให้แต่ละโรงพยาบาลกรอกข้อมูลผู้ป่วยแต่ละรายลงไป หรือเลือกที่ Upload File ข้อมูลทั้งชุด ซึ่ง Red Cap Project Website สามารถส่งออกผลการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดออกมาเป็น File รูปแบบต่างๆ ที่พร้อมให้หน่วยงานต่างๆ สามารถนาไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลต่อไป เช่น Excel, SAS, Stata เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน Health Research Outcome Center, NCKU ได้ใช้ Red Cap Project ในการติดตามและรวบรวมข้อมูลในโครงการติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็ก จากโรงพยาบาลต่างๆ ในไต้หวัน

4. ฝึกเขียน manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติด้านระบาดวิทยา

จากการฝึกอบรมครั้งนี้ ผู้เข้าฝึกอบรมได้ฝึกเขียน manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เรื่อง “The prevalence and associated risk factors of chronic kidney disease in low- and middle-income countries in Asia: a systematic review and meta-analysis” ซึ่งประกอบด้วยส่วน Introduction และ Method สาหรับเพิ่มเติมส่วน Result ที่กาลังวิเคราะห์เมื่อกลับประเทศไทย ซึ่งในการนี้ได้รับคาแนะนาจาก Prof.Dr. Yea-Huei Kao Yang ให้เขียน Result ให้สอดคล้องกับ Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta-Analyses (PRISMA) statement ของ University of Oxford

6. ประโยชน์ที่จะได้รับ

ในการปฏิบัติงานวิจัยระยะสั้นด้านเภสัชระบาดวิทยา ณ School of Pharmacy, Medical college, National Cheng Kung University, Taiwan ในครั้งนี้ มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1) นาประสบการณ์ที่ได้มาเขียนบทความเพื่อถ่ายทอดความรู้ เรื่องประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ต่องานเภสัชกรรม เพื่อเผยแพร่ในวารสาร ทางวิชาชีพเภสัชกรรม

2) สร้างความร่วมมือเบื้องต้นในการวิจัยระหว่าง School of Pharmacy, Medical college, National Cheng Kung University, Taiwan และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

3) สร้างความร่วมมือเบื้องต้นในการแลกเปลี่ยนนิสิตเภสัชศาสตร์ ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ School of Pharmacy, National Cheng Kung University

4) เป็นการเพิ่มประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเภสัชระบาดวิทยา จากการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ระดับชาติ แก่ผู้เข้ารับการอบรม

5) เป็นเพิ่มประสบการณ์ในการวิเคราะห์ด้านเภสัชระบาดวิทยาขั้นสูง แก่ผู้เข้ารับการอบรมจากตัวอย่างงานวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs กับการก่อให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง

6) เป็นเพิ่มประสบการณ์และทักษะในการเขียน manuscript ด้านระบาดวิทยา แก่ผู้เข้ารับการอบรม ให้เป็นที่ยอมรับสาหรับตีพิมพ์งานวิจัยในระดับนานาชาติ

7. ระยะเวลาดาเนินกิจกรรม
ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นระยะเวลา 2 เดือน

8. สถานที่ฝึกอบรม
ณ National Cheng Kung University เมืองไถนาน ประเทศไต้หวัน