โครงการเพิ่มพูนสมรรถนะด้านสมุนไพรให้แก่เภสัชกรทุกสายงาน

ระว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

ความเป็นมา

ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ใน 1 ใน 8 ของโลก  มีพืชสมุนไพรและองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาที่นาพืชสมุนไพรมาใช้เป็นยารักษาโรคสืบมาแต่บรรพกาลรวมทั้งการนำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพการใช้สมุนไพรเพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเรื่อยมาแต่ปัจจุบันกลับพบว่าการดาเนินการเกี่ยวกับสมุนไพรนั้นยังขาดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมขาดกลไกการสนับสนุนการพัฒนาทั้งด้านองค์ความรู้บุคลากรและศักยภาพในการผลิตโดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นต้นทุนที่สาคัญในการพัฒนาส่งเสริมภูมิปัญญาและต่อยอดองค์ความรู้ที่เป็นสมบัติของชาติให้โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพประชาชนในสถานพยาบาลสาหรับสถานการณ์การใช้ยาสมุนไพรในปัจจุบันของประเทศโดยอาจรวมทั้งการใช้สมุนไพรในระบบสาธารณสุขและนอกระบบการสาธารณสุขซึ่งเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรอาจยังเข้าไปดูแลการใช้ยาสมุนไพรได้ไม่ทั่วถึงตลอดจนข้อจากัดด้านองค์ความรู้ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ยาสมุนไพรจึงเป็นอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดูแลการใช้ยาสมุนไพรอย่างปลอดภัยและเหมาะสมในภาพรวมระดับประเทศ“เภสัชกร”เป็นบุคลากรที่มีองค์ความรู้พื้นฐานด้านการใช้ยาและสมุนไพรตลอดมาทั้งด้านการผลิตการค้นคว้าวิจัยการควบคุมคุณภาพการคุ้มครองผู้บริโภคการจัดหาและกระจายยาและสมุนไพรตลอดจนการส่งมอบยาพร้อมให้คาแนะนาการใช้และการเฝ้าระวังผลข้างเคียงเนื่องจากเป็นบุคลากรที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบันได้จึงมีขีดความสามารถที่ช่วยดูแลความปลอดภัยการใช้ยาและสมุนไพรได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งเภสัชกรยังมีบทบาทในการเป็นสื่อกลางเพื่อการสื่อสารข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างสหวิชาชีพทั้ง 2 แขนงให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมก่อเกิดมาตรฐานการรักษาได้รวมทั้งบทบาทการเผยแพร่ข้อมูลเชิงวิชาการที่เหมาะสมสู่สังคมส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนเกิดความตระหนักและความเชื่อมั่นว่าการใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความเจ็บป่วยและส่งเสริมสุขภาวะได้อย่างมั่นใจต่อไป

นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการพัฒนาจากรากฐานภูมิปัญญาและความหลากหลายทางชีวภาพที่เรามีในแผ่นดินไทยเป็นตัวเร่งที่สาคัญที่ทาให้การพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดดนอกจากนั้นกระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดทาแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ว่าด้วยการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพพบว่า “เภสัชกร”หลายสายงานในปัจจุบันเช่นเภสัชกรโรงพยาบาลเภสัชกรร้านยาเภสัชกรสานักงานสาธารณสุขจังหวัดเภสัชกรอุตสาหกรรมตลอดจนเภสัชกรในสายงานอาจารย์ล้วนมีคุณสมบัติและองค์ความรู้ที่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกๆมาตรการเพื่อช่วยเป็นหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนแผนแม่บทแห่งชาติให้ดำเนินต่อไปได้จึงเล็งเห็นความจาเป็นในการเตรียมความพร้อมด้านสมุนไพรให้แก่เภสัชกรในสายงานต่างๆที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการใช้สมุนไพรเพื่อให้ทันต่อการพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานของกระทรวงสาธารณสุขและประเทศต่อไป

สภาเภสัชกรรมโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและมูลนิธิอาจารย์เกษมปังศรีวงศ์จึงได้ร่วมกันจัดการอบรมเภสัชกรให้มีความรู้และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับสมุนไพรเนื่องจากปัจจุบันประชาชนมีพฤติกรรมในการบริโภคสมุนไพรมากยิ่งขึ้นทั้งเป็นอาหารอาหารเสริมและยาซึ่งเภสัชกรเป็นสายวิชาชีพทางสุขภาพที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรก็จัดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดหนึ่งจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเพิ่มพูนความรู้ทัศนคติและทักษะของเภสัชกรให้ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลสุขภาพ

วัตถุประสงค์โครงการ

  • เภสัชกรสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการทางเภสัชกรรมด้านสมุนไพรได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับแผนแม่บทแห่งชาติในการส่งเสริมการใช้สมุนไพร

  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรในการให้บริการทางเภสัชกรรมด้านสมุนไพรที่ปฏิบัติงานในส่วนงานการแพทย์แผนไทยงานคุ้มครองผู้บริโภคและงานบริบาลเภสัชกรรม

  • เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้สมุนไพรตระหนักรู้ในคุณค่าแห่งทรัพย์สินทางปัญญาด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยตลอดจนเพื่อสร้างความเคารพศรัทธาเชื่อมั่นในองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาของบรรพชนแก่เภสัชกรรุ่นใหม่

วิธีการดำเนินการและกลุ่มเป้าหมาย

โครงการดังกล่าวเนโครงการต่อเนื่องโดยเป็นการจัดประชุมเชิงวิชาการเพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านสมุนไพร โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมเป็นเภสัชกรที่ปฎิบัติหน้าที่ในหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดโรงพยาบาลทั่วไปโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยรวมจานวน 50 คนจาก 40 จังหวัดทั่วประเทศมีวิทยากรร่วมบรรยายทั้งสิ้น 18 ท่านใช้เวลา 3 วันในการจัดอบรมประกอบด้วยเนื้อหาและกิจกรรมสาคัญดังนี้

– การอบรมภาคบรรยายในเชิงทฤษฎีเช่นข้อกฎหมายนโยบายและทิศทางสาคัญด้านสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับเภสัชกรทฤษฎีการแพทย์แผนไทยการใช้สมุนไพรบนหลักฐานเชิงประจักษ์การรักษาและติดตามผลการรักษาด้วยสมุนไพรการควบคุมคุณภาพยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

– การศึกษาดูงานโรงงานผลิตยาสมุนไพรการควบคุมคุณภาพการผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร้านยาไทยงานบริการตรวจรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทย

– กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองผ่านธาตุเจ้าเรือน

– กิจกรรมการสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานด้านสมุนไพร

– การทา work shop เพื่อสร้างเครื่อข่ายในการทางานร่วมกันด้านสมุนไพรในอนาคต

ผลการดำเนินการโครงการ

ผู้เข้าร่วมการอบรม

มีความพึงพอใจ ในด้านกระบวนการ / ขั้นตอนการให้บริการโดยมีการดำเนินงานเป็นระบบและมีขั้นตอนชัดเจนในระดับมากที่สุดร้อยละ 42.86ระดับมากร้อยละ 50.00รูปแบบของการจัดโครงการมีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุดร้อยละ 46.43ระดับมากร้อยละ 42.86มีความพึงพอใจ ในด้านวิทยากรในภาพรวม  โดยมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ตรงกับหัวข้อที่บรรยาย ในระดับมากที่สุดร้อยละ 60.71ระดับมากร้อยละ 28.57มีเทคนิค วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาที่ทาให้เข้าใจได้ง่าย ในระดับมากที่สุดร้อยละ 57.14ระดับมากร้อยละ 32.14สามารถอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและตรงประเด็น ในระดับมากที่สุดร้อยละ53.57ระดับมากร้อยละ 39.29

ด้านความรู้ความเข้าใจ  โดยมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพร ก่อน การอบรมในระดับปานกลางร้อยละ 57.14  ระดับน้อยร้อยละ 21.43  ระดับน้อยที่สุดร้อยละ 10.71  และมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพร หลัง การอบรม ในระดับมากที่สุดร้อยละ 14.29 ระดับมากร้อยละ 60.71 ระดับปานกลางร้อยละ 21.43มีความเข้าใจบทบาทเภสัชกรด้านสมุนไพรมากขึ้นในระดับมากที่สุดร้อยละ21.43 ระดับมากร้อยละ 57.14ระดับปานกลางร้อยละ17.86มีทัศนคติที่ดีมากขึ้นต่อการใช้สมุนไพรในระดับมากที่สุดร้อยละ35.71 ระดับมากร้อยละ 60.71

ด้านการนาความรู้ไปใช้ โดยมี สามารถนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ในระดับมากที่สุดร้อยละ25.00 ระดับมากร้อยละ 50.00ระดับปานกลางร้อยละ21.43สามารถนาความรู้ไปเผยแพร่ ถ่ายทอดแก่ชุมชนได้ในระดับมากที่สุดร้อยละ25.00ระดับมากร้อยละ 50.00ระดับปานกลางร้อยละ25.00สามารถให้คาปรึกษาแก่เพื่อนร่วมงานได้ระดับมากที่สุดร้อยละ17.86 ระดับมากร้อยละ 57.14ระดับปานกลางร้อยละ25.00มีความมั่นใจและสามารถนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้ระดับมากที่สุดร้อยละ32.14 ระดับมากร้อยละ 46.43ระดับปานกลางร้อยละ17.86

ข้อเสนอแนะอื่นๆ

ชื่นชมในการจัดกิจกรรมการสร้างเครือข่ายต่อไปจะได้มีการติดต่อประสานงานกัน เกิดการขับเคลื่อนของเภสัชกร สสจ. ทั้งประเทศ มีการพูดคุยและทาให้เห็นภาพบทบาทหน้าที่เภสัชกรชัดเจนขึ้น การอบรมครั้งนี้ได้ประสบการณ์ดีๆ ได้รับการต้อนรับ ประสานงาน เป็นอย่างดี ชื่นชมในตัววิทยากรทุกท่าน เนื้อหาน่าสนใจ แต่ก็มากเกินไปควรจัดโครงการเป็น 4 วัน